|
วันที่: 2013-07-22 14:39:39.0
วัสดีค่ะวันนี้ เอาพืชสมุนไพรไล่ยุง มาฝากกันค่ะ ที่บ้านใครยุงเยอะ ลองหามาปลูกดูนะค่ะ แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักับ สารป้องกันยุง ที่ใช้ทาผิวหนัง กันก่อนนะค่ะสารป้องกันยุงใช้ ทาผิวหนัง เนื่องจากมีกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ทำให้ยุงบินหนีไปไม่เข้ามาใกล้ (มีคุณสมบัติเป็น repellent) จึงช่วยป้องกันมิให้ยุงกัด สารนั้นอาจเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษต่อยุงก็ได้ สารป้องกันยุงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือสารที่สกัดได้จากพืช เช่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันจากต้นน้ำมันเขียว (ยูคาลิปตัส) เป็นต้นสารที่สังเคราะห์ ขึ้นมา เช่น N,N-diethyl-m-toluamide และ 2-ethyl-1,3-hexanediol และ 1,1-carbonylbis (hexahydro-1H-azepine) เป็นต้นสารป้องกันยุง ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้1. ไม่เป็นอันตรายหรือทำความระคายเคืองต่อผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆของร่างกาย2. ป้องกันยุงกัดได้เป็นเวลานานพอควร3. สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง4. ไม่มีสี ไม่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า5. ไม่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง (สำหรับคน)6. ใช้ง่ายและสะดวก7. ไม่เหนียวเหนอะหนะ ชำระล้างออกได้ง่าย8. ราคาไม่แพงรวมพืชสมุนไพรไล่ยุงมะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystriลักษณะ มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบหนาและมีรอยคอดตรงกลาง ดอกสีขาว ผิวของผลมะกรูดขรุขระเป็นปุ่มปมทั้งลูก น้ำในลูกมีรส เปรี้ยว มีหนามแหลมยาวตามลำต้นและกิ่งส่วนที่ใช้ ผลวิธีใช้ นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ไพลเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunarลักษณะ ไพลเหลืองเป็นพืชหัว หัวเป็นแง่งโตติดกันเป็นพืด ใบเล็กยาว ปลายแหลมส่วนที่ใช้ หัววิธีใช้ นำหัวไพลเหลืองสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง แต่มีข้อเสียคือทำให้ผิวหนังติดสีเหลืองล้างออกยากสะระแหน่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอมส่วนที่ใช้ ใบวิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรงกระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum ลักษณะ กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อ เล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านดอกส่วนที่ใช้ หัววิธีใช้ นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanotum ลักษณะ กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหม ูส่วนที่ใช้ ใบวิธีใช้ ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้งว่านน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamusลักษณะ ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียวส่วนที่ใช้ เหง้าวิธีใช้ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนังแมงลัก ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum citratumลักษณะ แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่งส่วนที่ใช้ ใบวิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนังตะไคร้หอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardusลักษณะ ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอยส่วนที่ใช้ ต้นและใบวิธีใช้ นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกลต้นยูคาลิปตัส ชื่อวิทยาศาสตร์ Eucalyptus citriodaraลักษณะ ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นสูง ใบยาวรี ค่อนข้างหนาส่วนที่ใช้ ใบวิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนังต้นไม้กันยุง (มอสซี่ บัสเตอร์)ต้นไม้กันยุงเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการพัฒนาโดยวิธีการทางพันธุ์วิศวกรรม ระหว่างพันธุ์ไม้ 2 ตระกูล คือ อาฟริกัน เจอราเนียม (African Geranium) และตะไคร้หอม (Citronella) ต้นไม้กันยุงจึงมีลักษณะคล้ายต้นเจอราเนียม แต่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆของต้นตะไคร้หอม เนื่องจากน้ำมันตะไคร้หอมมีคุณสมบัติในการไล่ยุง (เป็น repellent) ต้นไม้กันยุงนี้จึงสามารถไล่ยุงได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้และพื้นที่ที่ใช้งาน เช่นต้นไม้กันยุง อายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูงจากผิวดินประมาณ 6 นิ้ว กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจากต้นไม้จะสามารถไล่ยุงได้ในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางฟุต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในต้นไม้กันยุงจะมีสารอยู่สองชนิด คือ สารที่มีคุณสมบัติเป็นสารดึงดูดยุง (attractant) และสารไล่ยุง (repellent) ต้นไม้กันยุงที่ยังเล็กจะมีสารดึงดูดยุงมากกว่าสารไล่ยุง ต่อเมื่อโตขึ้นสารดึงดูดยุงจะค่อยๆลดปริมาณลง จนสารไล่ยุงสามารถแสดงคุณสมบัติได้เต็มที่ ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม ใบแตกออกจากทั้งตายอดและตาข้าง ขอบใบหยักส่วนที่ใช้ ใช้ทั้งต้น โดยจะปลูกเป็นไม้ประดับ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยไล่ยุง ไม่ให้เข้ามาใกล ้วิธีใช้ วางกระถางที่ปลูกต้นไม้กันยุงไว้ในห้อง สามารถไล่ยุงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ต้นไม้ก็ต้องการแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสง จึง ควรนำต้นไม้ไปรับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมงและรดน้ำให้ ชุ่มในเวลาเช้า หากแสงแดดไม่จัด ควรให้น้ำพอสมควรเพื่อ ป้องกันมิให้รากเน่าที่มา: http://www.sapaan.net/forum/health-community/acaxaeao1aaaaeaoaadeoaein1ao/
***พื้นที่สำนักงานให้เช่า**อินทรีย์ลานนาสินค้าชุมชน**จักรยานไฟฟ้าสินค้าใหม่** 0800664888
|
|
|