วันที่: 2012-10-01 19:39:27.0view 5018reply 0
วิวัฒนาการ ของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตสินค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้ผลิตสินค้ามีการแข่งขันในทางธุรกิจเพื่อให้ได้เปรียบในทางการค้า โดยการผลิตสินค้าที่แปลกใหม่ทั้งรูปลักษณ์และสีสัน ซึ่งบางครั้งสินค้าที่ผลิตได้เหล่านั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ถ้าสินค้านั้นเกิดการชำรุดบกพร่องหรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อสินค้ามีผลต่อความรับผิดชอบของ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในฐานะของผู้ผลิตสินค้าออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภค จึงต้องระมัดระวังในเรื่องของคุณภาพสินค้าและความปลอดภัย เพราะหากเกิดกรณีสินค้าชำรุดบกพร่องหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของ ผู้บริโภค ก็อาจจะทำให้ผู้ผลิตต้องรับผิดทั้งในเรื่องสัญญาซื้อขายและการละเมิดได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า จากผู้ผลิต ทั้งสองฝ่ายย่อมมีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาซื้อขาย อันจะทำให้ผู้ผลิตต้องรับผิดในเรื่องของความชำรุดบกพร่องของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซม การชดใช้ราคา หรือการเปลี่ยนตัวสินค้าชิ้นใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งต่างกับกรณีที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าโดย ตรง แต่เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากตัวสินค้า ถึงแม้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจะไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ผลิต และไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายซึ่งจำกัดเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ผลิตก็ยังคงต้องรับผิดในฐานะทำละเมิดต่อผู้อื่น กรณีความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย เช่น นาย ก. ซื้อรถยนต์มาจากบริษัท ข. ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และปรากฏว่าเบรคห้ามล้อมีความชำรุดบกพร่องจากการผลิต เมื่อนาย ก. ขับรถยนต์ไปจนเกิดอุบัติเหตุชนต้นไม้จนทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย นาย ก. ก็สามารถฟ้องบริษัท ข. ให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ โดยบริษัท ข. ก็อาจจะต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ให้กับนาย ก. ด้วย ในส่วนของกรณีความรับผิดในทาง ละเมิดจากการผลิตนั้น แม้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจะไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ในทางสัญญากับผู้ผลิตสินค้า แต่ผู้ผลิตก็อาจจะต้องรับผิดในเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย เช่น กรณีที่นาย ก. ขับรถยนต์ดังกล่าวจากตัวอย่างข้างต้น ไปชน นาย ค. เพราะเหตุบกพร่องของเบรคห้ามล้อจากการผลิตเช่นนี้ นากจากบริษัท ข. จะต้องรับผิดต่อนาย ก. ตามสัญญาซื้อขายแล้ว บริษัท ข. ก็จะต้องรับผิดกับ นาย ค. ในความผิดฐานละเมิดต่อผู้อื่นอีกด้วย หรืออีกในกรณีหนึ่งซึ่งผู้ผลิตได้ ผลิตสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ผู้ผลิตของเด็กเล่นได้โฆษณาสินค้าของตนว่าเหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 3-10 ปี แต่ปรากฏว่าเด็กอายุ 8 ปี ไปเล่นของเล่นดังกล่าวแล้วเกิดบาดแผลถึงขั้นต้องพบแพทย์ โดยของเล่นนั้นมีสภาพไม่เหมาะแก่เด็ก ผู้ปกครองก็อาจจะเรียกร้องให้ผู้ผลิตรับผิดชอบในความผิดฐานละเมิดได้ นอกจากนี้การโฆษณาเกินจริงของผู้ ผลิตสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและหันมาบริโภคสินค้านั้นๆ ถ้าผู้บริโภคได้ใช้สินค้านั้นแล้วไม่ได้ผลอย่างที่โฆษณาไว้ก็อาจเป็นความผิด ทางอาญาในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และอาจจะต้องรับโทษถึงขั้นจำคุกอีกด้วย แม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีกฎหมาย เฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดเด็ดขาดจากการผลิตสินค้า เพราะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 จะให้ความคุ้มครองเฉพาะ ผู้ขาย ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ และผู้ได้รับบริการโดยเสียค่าตอบแทนเท่านั้น ซึ่งไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคตามความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดก็สามารถนำมาปรับใช้เพื่อคุ้มครอง สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายได้ การที่ผู้ประกอบการผลิตสินค้าให้ มีคุณภาพและความปลอดภัย ย่อมแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมของผู้ผลิตและจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้ แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค ในการที่จะเลือกซื้อสินค้า ซึ่งบางครั้งการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงแต่ต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้กำไรมาก ขึ้น จนไม่สามารถผลิตสินค้าที่ดีมีมาตรฐานได้ อาจเป็นการทำลายชื่อสียงของผู้ประกอบการรวมถึงอาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ดังที่กล่าวมาข้างต้น และหากจะผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไป ยังต่างประเทศ ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อกำหนดและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของต่างประเทศที่มี ความเข้มงวดกว่าในประเทศไทยมาก เพราะการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพอาจจะสูญเสียทั้งสินค้าและโอกาสในการส่ง ออกไปยังต่างประเทศต่อไป
|
วันที่: Tue Apr 29 19:06:36 ICT 2025
|
|
|