ความรู้เรื่องฮอร์โมนอินซูลินและเบาหวาน
วันที่: 2013-04-04 00:54:13.0
***ความรู้เรื่องฮอร์โมนอินซูลิน***
เมื่อร่างกายย่อยอาหารจนกลายเป็นน้ำตาลแล้ว จะมีฮอร์โมน อินซูลิน (ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจาก ตับอ่อน) ทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายที่ต้องการพลังงาน แต่หากมีเหตุผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อร่างกายดังนี้
1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นผลจากการมี อินซูลินมากเกินไป หรือมีการรับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลา หรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป จะมีอาการปวดหัว เหงื่อออก ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก เดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด
...
2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลจากการมี อินซูลินน้อยเกินไป พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหารไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิว ปวดหัว คลื่นไส้
หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนอินซูลินนี้คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินจะหลั่งออกมามากเพื่อกระตุ้นเซลล์ตับ และเซลล์กล้ามเนื้อ ให้นำกลูโคส (กลูโคสก็คือน้ำตาลครับ - webmaster) เข้าไปในเซลล์มากขึ้น และให้ทำการเปลี่ยนกลูโคสดังกล่าวให้เป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมไว้
นอกจากนี้ อินซูลิน ยังมีหน้าที่กระตุ้นเซลล์ทั่วร่างกาย ให้มีการใช้กลูโคสมากขึ้น เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ
---------------------------------------
คำอธิบายรูปภาพ
ก. เม็ดสีฟ้าที่เห็นนี้คือ อินซูลิน ที่ถูกสร้างมาจากเบตตาเซลล์ที่บริเวณส่วนกลางของ ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ใน ตับอ่อน
ข. คือการ "คัดหลั่ง" ของเม็ดอินซูลินดังกล่าว ออกไปจากเซลล์ (จะเห็นได้ว่าจากเม็ดสีฟ้าเม็ดใหญ่นั้น มันจะแตกตัวลอยออกไป)
ค.ที่เห็นเป็นท่อสีฟ้านี้คือ เส้นเลือดฝอย ที่เห็นเป็นกลมๆสีแดง ก็คือเม็ดเลือดแดง โดยเมื่ออินซูลินมีการคัดหลั่งออกมาจาก ข. มันก็จะเข้าเส้นเลือดฝอยดังกล่าวนี้ แล้วไปทำหน้าที่ของมัน
----------------------------------------
ที่มา : tuvayanon.net