น้ำมันรำข้าวจมูกข้าวมีประโยชน์จริงหรือ?
วันที่: 2013-02-06 15:22:32.0
รำข้าว สารธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ
ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า "รำข้าว" หรือว่า "น้ำมันรำข้าว" แล้ว เคยสงสัยไหมครับว่า มันคือส่วนไหนของข้าว
รำข้าว แท้จริงคือ เยื่อสีทองที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องหรือข้าวทั่วไป นั่นเอง ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารสูงที่สุดของข้าว
น้ำมันที่ได้จากรำข้าว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการนำข้าวที่มีรำข้าวอยู่มาผ่านกระบวนการบีบอัดและได้น้ำมันออกมา เราถึงเรียกว่า "น้ำมันรำข้าว"
น้ำมันรำข้าว อุดมไปด้วยวิตามินและสารธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี และกลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol)ประมาณ 19-40% และกลุ่มโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol)ประมาณ 51-81% รวมทั้งโอรีซานอล (Oryzanol) ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า มีกรดไขมันอิ่มตัว 18% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturted Fatty Acid : MUFA)อีก 45% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid : PUFA)อีก 37% จึงช่วยลดคอเลสเตอรอล (LDL-C)และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
ประโยชน์
ประโยชน์นานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (Seed Membrane Layer) และจมูกข้าว (Rice Germ) จึงอุดมด้วยสารสำคัญทางธรรมชาติ และมีคุณค่าสูงต่อร่างกายหลายชนิด เช่น
- กลุ่มสารฟอสโฟไลฟิด (Phospholipids) เช่น เลซิติน (Lecithin) เซฟฟาลิน (Cephalin) ไลโซเลซิติน (Lysolecithin) ซึ่งมีความสำคัญในการนำไปสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ประสาทสมอง และช่วยป้องกันเซลล์ประสาท จากสารที่เป็นพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยลดความเครียด และช่วยเสริมสร้างในด้านความจำ
- กลุ่มเซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น การเสริมสร้างเซราไมด์ให้เพียงพอ ทั้งโดยการรับประทานหรือการให้ทางผิวหนังในรูปการทาครีม หรือโลชัน จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยย่นก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้เซราไมด์ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (Whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ดี และยังเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวอีกด้วย
- กลุ่มคอลโทคอล (Tocols) วิตามินอีธรรมชาติ ในรูปของโทโคเฟอรอล(Tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) มีประโยชน์ต่อร่างกายในการสร้าง และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกายและยังช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง
- กลุ่มกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 6 และ กรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น โดยมีอยู่ประมาณ 33%
- กลุ่มวิตามิน B - Complex ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
- กลุ่มแกมมา - ออไรซานอล มีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารอนุมูลอิสระ และยังป้องกันแสงยูวีได้ เมื่อใช้กินหรือใช้ทา ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก
ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง
น้ำมันรำข้าว จากข้าวแต่ละชนิดให้สารต่างๆกัน
ข้าวเม็ดสีดำ จะให้น้ำมันรำข้าวที่มีสีเข้มกว่า ข้าวเม็ดสีขาว
ส่วนประกอบสำคัญในน้ำมันรำข้าว
- กรดไขมัน โอเมก้า 3 Omaga 3
- แกมม่า ออไรซานอล Gamma Oryzanal ดีกว่า วิตามิน D และ E ถึง 10 เท่า
- ออไรซา เซรามายด์ Oryza Ceremide สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็ง ดีกว่าสารสกัดเมล็ดองุ่นและบลูเบอร์รี่
- ฟอสฟอร์ไรปิค Phospholipid
- โทคอล Tocal กลุ่ม VitaminE มีครบทั้ง 3 รูปแบบโมเลกุล
- คาโรตินอย บำรุงสายตา และการไหลเวียนของโลหิต
- และสารอื่นอีกเล็กน้อย
สารบางตัวช่วยในการดูดกลืนคลื่นแสง UV จากดวงอาทิตย์
สารบางตัวช่วยให้สมองผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย หลับง่าย หลับลึก
ทำเป็นโลชั่น ดีมาก เพราะ น้ำมันรำข้าว มีขนาดโมเลกุลที่เล็ก สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดี
กรดเฟรูลิค
- ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ, หลอดเลือดอุดตัน
- ลดระดับไขมันในเลือด, ลดคลอเรสเตอรอล, ลดไตร-กลีเซอรไรส์
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
- วิตามิน E (ชื่อทางวิทย์ฯ โทโคฟีรอล) สารโทโคไตรอีนอล ดีกว่า วิตามินอี 60 เท่า
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ป้องกันโรคมะเร็ง
- กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
- ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็งตับ
- ต่อต้านความชรา Anti-Aging
- คงความชุ่มชื่นใต้ชั้นผิวหนัง
- ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น กระชับ เต่งตึง
- ป้องกันผิว จากการถูกทำลายจากแสงแดด, UV, อัลตร้าไวโอเล็ต, ฝ้าฮอร์โมน
- เพิ่มความกระชับของกล้ามเนื้อ
- ลดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และอาการอ่อนเพลีย
- ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว
ไทโรซีน (Tyrosine) ไทโรซีเนส (Tyrosinase) โดปะ (Dopa) โดปะคิวโนน (Dopaquinone) เม็ดสีผิว (Melanin)